วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

มาตรฐานท่อเหล็กเหนียว(Steel Pipe)

ท่อเหล็กเหนียวที่ใช้ในงานประปาของการประปาส่วนภูมิภาคนั้นจะใช้ตาม มอก. 427 “ท่อเหล็กกล้าเชื่อมด้วยไฟฟ้าสำหรับส่งน้ำ” ชั้น คุณภาพ ข. หรือ ค. มีคุณสมบัติทนแรงดันได้ไม่น้อยกว่า 10 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ขนาดและมิติที่ใช้มีดังนี้
IMG
ดังนั้น เราสามารถที่จะคำนวณ น้ำหนัก จำนวนเที่ยว การขนส่งท่อออกไปยังหน่วยงานก่อสร้างได้

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567

Combination Air Valve

      Combination Air Valve  เป็นวาล์วที่มีระบบไล่อากาศออกและดึงอากาศเข้าท่อ  มี Large Orifice เท่ากับขนาดของวาล์ว และมี Small Orifice พร้อมอุปกรณ์ป้องกันการกระแทกของน้ำและอากาศ(Anti-Shock)  วาล์วจะทำงานอัตโนมัติขณะเติมน้ำเข้าท่อและเกิด Column Separation  เป็นวาล์วป้องกันการเกิด Surge และ Water Hammer  ทนความดันใช้งานไม่น้อยกว่า 10 กก./ซม.

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2567

การต่อท่อ HDPE แบบ Electro Fusion

     การต่อท่อ HDPE แบบ Electro Fusion เป็นการต่อท่อโดยการหลอมเนื้อท่อกับตัวข้อต่อ เช่น ข้องอ  สามทาง  ข้อต่อตรง ฯลฯ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีขดลวดตัวนำกระแสไฟฟ้าจะฝังอยู่ในผนังของตัวข้อต่อ จากนั้นสวมปลายท่อที่จะเชื่อมติดกันเข้าไปในตัวข้อต่อ แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าทางขดลวดตัวนำเพื่อสร้างความร้อนให้เกิดขึ้นบริเวณผนังด้าน ในของตัวข้อต่อ ความร้อนจะทำให้เนื้อท่อและตัวข้อต่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นปล่อยให้เย็น ท่อจะแข็งตัวและเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกัน การเชื่อมวิธีนี้สามารถเชื่อมท่อที่มีขนาดตั้งแต่ 20 มิลลิเมตร จนถึง 400 มิลลิเมตร วิธีการเชื่อมนี้นิยมมากในการเชื่อม ท่อน้ำดื่ม   ท่อก๊าซ
fully-automatic-electro-fusion-control-box


ข้อดีของการต่อท่อด้วยวิธี Electro Fusion

1.ใช้งานง่ายในพื้นที่แคบๆ เช่น ย่านชุมชน
2. เคลื่อนย้ายสะดวก เนื่องจากมีน้ำหนักเบา
3. สะดวกในการใช้งานเนื่องจากใช้แหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ220 v
4. เหมาะสำหรับในงานซ่อมท่อ
download






วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567

รายงานการเชื่อมท่อ HDPE DATA LOGGER

      รายงานการเชื่อมท่อ HDPE แบบคอมพิวเตอร์ควบคุม(DATA LOGGER) เป็นข้อกำหนดสำหรับงานเชื่อมท่อ HDPE ของการประปาส่วนภูมิภาค  เดิมการเชื่อมท่อ HDPE จะใช้แรงงานคนสังเกตจากตะเข็บแนวท่อและต้องอาศัยประสบการณ์ แต่ปัจจุบันการเชื่อมท่อ HDPE จะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมขั้นตอนการเชื่อม(LDU) ออกรายงานผลการเชื่อมที่แม่นยำ น่าเชื่อถือ ทำให้ข้อมูลการเขื่อมที่ได้แน่นอน เกิดความผิดพลาดน้อยจากภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างของรายงานผลการเชื่อม ซึ่งจะแสดงรายละเอียดไว้ครบถ้วน
IMG_00061

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2567

ตัวอย่างการถอดแบบในงานวางท่อประปา

    ในงานวางท่อประปานั้น การใช้อุปกรณ์ประปาให้เหมาะสมกับบริเวณต่างๆมีความจำเป็นมาก เนื่องจากมีผลต่อต้นทุนค่าก่อสร้าง และระยะเวลา เนื่องจากต้องใช้เวลาผลิต ดังนั้นผมขอยกตัวอย่างการถอดแบบอุปกรณ์ดังนี้
clip_image002
แบบแปลนแสดงการติดตั้งอุปกรณ์ในเส้นท่อวางใหม่ตามสัญญา

clip_image004
  แสดงการถอดแบบเพื่อขยายการติดตั้งอุปกรณ์ ตำแหน่ง 11


วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2567

การต่อท่อพีวีซีชนิดต่อด้วยแหวนยาง

       ในการต่อท่อพีวีซีชนิดต่อด้วยแหวนยางนั้นช่างต่อท่อประปาต้องมีความชำนาญ เนื่องจากหากต่อไม่ถูกวิธีจะทำให้แหวนยางปลิ้นได้ง่าย และจะทำให้น้ำรั่วตามมา เมื่อถึงขั้นตอนการทดสอบน้ำจะหารอยรั่วได้ยากมาก ดังนั้นต้องระวังเป็นพิเศษ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. เช็ดทำความสะอาดปลายท่อที่จะต่อเข้ากับข้อต่อแหวนยาง รวมทั้งแหวนยางด้วยโดยเฉพาะร่องของแหวนยาง โดยใช้ผ้าจุ่มน้ำเช็ดแล้วปล่อยให้แห้ง
2. จับแหวนยางให้เป็นรูปหัวใจแล้วสอดเข้าไปในข้อต่อแหวนยางในทิศทางปลายคีบของแหวนยางลู่เข้าไปในท่อ ปล่อยมือแล้วจัดแหวนยางให้นั่งในร่องแหวนยางให้แนบสนิท
3. ทำเครื่องหมายแสดงความลึกของการสอดท่อ โดยใช้ปากกาเคมี โดยทั่วไปทางโรงงานผลิตท่อจะทำเครื่องหมายมาให้ด้วย ยกเว้นกรณีตัดท่อหน้างานเราต้องทำเครื่องหมายใหม่
4. กรณีตัดท่อหน้างาน ให้ลบมุมคมของท่อประมาณ 15 องศา โดยใช้ตะไบหรือเครื่องเจีย เพื่อป้องกันการปลิ้นของแหวนยาง
5. ทาน้ำยาหล่อลื่นแหวนยางบริเวณส่วนที่ลบมุมคมของท่อและตัวของแหวนยางที่นั่งในร่องแหวนยางแล้วให้ทั่วเสมอ
6. สวมปลายท่อที่ทาน้ำยาหล่อลื่นแหวนยางไว้แล้วเข้าไปในข้อต่อแหวนยาง
7. ใช้แรงงานหรือคานงัดเพื่อดันปลายท่อเข้าไปในข้อต่อแหวนยางให้ถึงเครื่องหมายบนท่อที่ทำไว้ตามข้อ 3(ไม่ควรใช้เครื่องจักรดันเพราะจะทำให้ปลายท่อปากระฆังแตกได้ง่าย)
8. ทำตามขั้นตอนที่ 1 ถึง 7 ไปเรื่อยๆจนแล้วเสร็จ








วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2567

อุปกรณ์ซ่อมท่อ HDPE

        ปัญหาที่เจอบ่อยในงานวางท่อ HDPE ก็คือ การซ่อมท่อ เนื่องจากการซ่อมแต่ละครั้งต้องใช้ช่างที่มีฝีมือ แบ่งวิธีการซ่อมได้ 2 แบบ
1. การซ่อมท่อด้วยการเชื่อม ซึ่งต้องใช้เครื่องเชื่อมท่อ HDPE โดยเฉพาะ การซ่อมด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดมากๆ กล่าวคือ บริเวณที่จะซ่อมต้องมีพื้นที่กว้างและยาวมากพอที่จะโน้มท่อ HDPE มาเชื่อมได้ ในขณะที่ระยะท่อมีจำกัด
2. การซ่อมท่อโดยใช้ Repair Clamp การซ่อมด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ การซ่อมจะทำได้เร็วและสะดวกกว่าการใช้เครื่องเชื่อม โดยทั่วไปจะ มีขนาดตั้งแต่ 63 มม. - 315 มม. แบ่งได้เป็น 3 แบบ
1. Repair Clamp แบบแสตนเลส ราคาแพงแต่ซ่อมได้ง่าย จับแน่นเนื่องจากออกแบบมาพิเศษ
clip_image006
2. Repair Clamp แบบเหล็กเหนียวเคลือบอีพ๊อกซี่ ราคาปานกลาง ซ่อมได้ง่าย เหมือนกับแสตนเลส จับแน่นเนื่องจากออกแบบมาพิเศษ อายุการใช้งานน้อยกว่าแสตนเลส
3. Repair Clamp แบบท่อ HDPE ราคาถูกแต่ซ่อมได้ยาก หลุดลื่นได้ง่าย
clip_image004

clip_image005