วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

มาตรฐานท่อเหล็กเหนียว(Steel Pipe)

ท่อเหล็กเหนียวที่ใช้ในงานประปาของการประปาส่วนภูมิภาคนั้นจะใช้ตาม มอก. 427 “ท่อเหล็กกล้าเชื่อมด้วยไฟฟ้าสำหรับส่งน้ำ” ชั้น คุณภาพ ข. หรือ ค. มีคุณสมบัติทนแรงดันได้ไม่น้อยกว่า 10 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ขนาดและมิติที่ใช้มีดังนี้
IMG
ดังนั้น เราสามารถที่จะคำนวณ น้ำหนัก จำนวนเที่ยว การขนส่งท่อออกไปยังหน่วยงานก่อสร้างได้

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567

Combination Air Valve

      Combination Air Valve  เป็นวาล์วที่มีระบบไล่อากาศออกและดึงอากาศเข้าท่อ  มี Large Orifice เท่ากับขนาดของวาล์ว และมี Small Orifice พร้อมอุปกรณ์ป้องกันการกระแทกของน้ำและอากาศ(Anti-Shock)  วาล์วจะทำงานอัตโนมัติขณะเติมน้ำเข้าท่อและเกิด Column Separation  เป็นวาล์วป้องกันการเกิด Surge และ Water Hammer  ทนความดันใช้งานไม่น้อยกว่า 10 กก./ซม.

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2567

การต่อท่อ HDPE แบบ Electro Fusion

     การต่อท่อ HDPE แบบ Electro Fusion เป็นการต่อท่อโดยการหลอมเนื้อท่อกับตัวข้อต่อ เช่น ข้องอ  สามทาง  ข้อต่อตรง ฯลฯ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีขดลวดตัวนำกระแสไฟฟ้าจะฝังอยู่ในผนังของตัวข้อต่อ จากนั้นสวมปลายท่อที่จะเชื่อมติดกันเข้าไปในตัวข้อต่อ แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าทางขดลวดตัวนำเพื่อสร้างความร้อนให้เกิดขึ้นบริเวณผนังด้าน ในของตัวข้อต่อ ความร้อนจะทำให้เนื้อท่อและตัวข้อต่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นปล่อยให้เย็น ท่อจะแข็งตัวและเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกัน การเชื่อมวิธีนี้สามารถเชื่อมท่อที่มีขนาดตั้งแต่ 20 มิลลิเมตร จนถึง 400 มิลลิเมตร วิธีการเชื่อมนี้นิยมมากในการเชื่อม ท่อน้ำดื่ม   ท่อก๊าซ
fully-automatic-electro-fusion-control-box


ข้อดีของการต่อท่อด้วยวิธี Electro Fusion

1.ใช้งานง่ายในพื้นที่แคบๆ เช่น ย่านชุมชน
2. เคลื่อนย้ายสะดวก เนื่องจากมีน้ำหนักเบา
3. สะดวกในการใช้งานเนื่องจากใช้แหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ220 v
4. เหมาะสำหรับในงานซ่อมท่อ
download






วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567

รายงานการเชื่อมท่อ HDPE DATA LOGGER

      รายงานการเชื่อมท่อ HDPE แบบคอมพิวเตอร์ควบคุม(DATA LOGGER) เป็นข้อกำหนดสำหรับงานเชื่อมท่อ HDPE ของการประปาส่วนภูมิภาค  เดิมการเชื่อมท่อ HDPE จะใช้แรงงานคนสังเกตจากตะเข็บแนวท่อและต้องอาศัยประสบการณ์ แต่ปัจจุบันการเชื่อมท่อ HDPE จะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมขั้นตอนการเชื่อม(LDU) ออกรายงานผลการเชื่อมที่แม่นยำ น่าเชื่อถือ ทำให้ข้อมูลการเขื่อมที่ได้แน่นอน เกิดความผิดพลาดน้อยจากภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างของรายงานผลการเชื่อม ซึ่งจะแสดงรายละเอียดไว้ครบถ้วน
IMG_00061

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2567

ตัวอย่างการถอดแบบในงานวางท่อประปา

    ในงานวางท่อประปานั้น การใช้อุปกรณ์ประปาให้เหมาะสมกับบริเวณต่างๆมีความจำเป็นมาก เนื่องจากมีผลต่อต้นทุนค่าก่อสร้าง และระยะเวลา เนื่องจากต้องใช้เวลาผลิต ดังนั้นผมขอยกตัวอย่างการถอดแบบอุปกรณ์ดังนี้
clip_image002
แบบแปลนแสดงการติดตั้งอุปกรณ์ในเส้นท่อวางใหม่ตามสัญญา

clip_image004
  แสดงการถอดแบบเพื่อขยายการติดตั้งอุปกรณ์ ตำแหน่ง 11


วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2567

การต่อท่อพีวีซีชนิดต่อด้วยแหวนยาง

       ในการต่อท่อพีวีซีชนิดต่อด้วยแหวนยางนั้นช่างต่อท่อประปาต้องมีความชำนาญ เนื่องจากหากต่อไม่ถูกวิธีจะทำให้แหวนยางปลิ้นได้ง่าย และจะทำให้น้ำรั่วตามมา เมื่อถึงขั้นตอนการทดสอบน้ำจะหารอยรั่วได้ยากมาก ดังนั้นต้องระวังเป็นพิเศษ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. เช็ดทำความสะอาดปลายท่อที่จะต่อเข้ากับข้อต่อแหวนยาง รวมทั้งแหวนยางด้วยโดยเฉพาะร่องของแหวนยาง โดยใช้ผ้าจุ่มน้ำเช็ดแล้วปล่อยให้แห้ง
2. จับแหวนยางให้เป็นรูปหัวใจแล้วสอดเข้าไปในข้อต่อแหวนยางในทิศทางปลายคีบของแหวนยางลู่เข้าไปในท่อ ปล่อยมือแล้วจัดแหวนยางให้นั่งในร่องแหวนยางให้แนบสนิท
3. ทำเครื่องหมายแสดงความลึกของการสอดท่อ โดยใช้ปากกาเคมี โดยทั่วไปทางโรงงานผลิตท่อจะทำเครื่องหมายมาให้ด้วย ยกเว้นกรณีตัดท่อหน้างานเราต้องทำเครื่องหมายใหม่
4. กรณีตัดท่อหน้างาน ให้ลบมุมคมของท่อประมาณ 15 องศา โดยใช้ตะไบหรือเครื่องเจีย เพื่อป้องกันการปลิ้นของแหวนยาง
5. ทาน้ำยาหล่อลื่นแหวนยางบริเวณส่วนที่ลบมุมคมของท่อและตัวของแหวนยางที่นั่งในร่องแหวนยางแล้วให้ทั่วเสมอ
6. สวมปลายท่อที่ทาน้ำยาหล่อลื่นแหวนยางไว้แล้วเข้าไปในข้อต่อแหวนยาง
7. ใช้แรงงานหรือคานงัดเพื่อดันปลายท่อเข้าไปในข้อต่อแหวนยางให้ถึงเครื่องหมายบนท่อที่ทำไว้ตามข้อ 3(ไม่ควรใช้เครื่องจักรดันเพราะจะทำให้ปลายท่อปากระฆังแตกได้ง่าย)
8. ทำตามขั้นตอนที่ 1 ถึง 7 ไปเรื่อยๆจนแล้วเสร็จ








วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2567

อุปกรณ์ซ่อมท่อ HDPE

        ปัญหาที่เจอบ่อยในงานวางท่อ HDPE ก็คือ การซ่อมท่อ เนื่องจากการซ่อมแต่ละครั้งต้องใช้ช่างที่มีฝีมือ แบ่งวิธีการซ่อมได้ 2 แบบ
1. การซ่อมท่อด้วยการเชื่อม ซึ่งต้องใช้เครื่องเชื่อมท่อ HDPE โดยเฉพาะ การซ่อมด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดมากๆ กล่าวคือ บริเวณที่จะซ่อมต้องมีพื้นที่กว้างและยาวมากพอที่จะโน้มท่อ HDPE มาเชื่อมได้ ในขณะที่ระยะท่อมีจำกัด
2. การซ่อมท่อโดยใช้ Repair Clamp การซ่อมด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ การซ่อมจะทำได้เร็วและสะดวกกว่าการใช้เครื่องเชื่อม โดยทั่วไปจะ มีขนาดตั้งแต่ 63 มม. - 315 มม. แบ่งได้เป็น 3 แบบ
1. Repair Clamp แบบแสตนเลส ราคาแพงแต่ซ่อมได้ง่าย จับแน่นเนื่องจากออกแบบมาพิเศษ
clip_image006
2. Repair Clamp แบบเหล็กเหนียวเคลือบอีพ๊อกซี่ ราคาปานกลาง ซ่อมได้ง่าย เหมือนกับแสตนเลส จับแน่นเนื่องจากออกแบบมาพิเศษ อายุการใช้งานน้อยกว่าแสตนเลส
3. Repair Clamp แบบท่อ HDPE ราคาถูกแต่ซ่อมได้ยาก หลุดลื่นได้ง่าย
clip_image004

clip_image005







วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567

วิธีการต่อท่อ HDPE

    การต่อท่อ HDPE โดยทั่วไปท่อ HDPE จะมีหลายชั้นคุณภาพ เช่น PN 6.3 , PN 10 ความยาวมีทั้งแบบม้วนสำหรับท่อขนาด 20 – 110 มม. และแบบท่อนสำหรับท่อขนาด 110 ขึ้นไป โดยทั่วไปจะใช้ความยาวท่อนละ 6 เมตร ทั้งนี้เราสามารถสั่งความยาวได้ตามที่เราต้องการเพื่อสะดวกต่อการขนส่งจากโรงงานมายังหน่วยงาน และหากสั่งความยาวของท่อได้เหมาะสมกับสภาพหน้างานจะมีผลทำให้ประหยัดค่าแรงและอุปกรณ์ในการต่อท่อแต่ละท่อนอีกด้วย ตามมาตรฐานของ กปภ. สามารถแบ่งการต่อท่อตามขนาดท่อเป็น 2 ประเภท
1. ท่อ HDPE ขนาด OD เล็กกว่า 110 มม. ให้ใช้ข้อต่อแบบ Compression หรือ เชื่อมต่อแบบ Butt Fusion หรือแบบ Electro Fusion
2. ท่อ HDPE ขนาด OD ตั้งแต่ 110 มม. ขึ้นไป ให้ใช้วิธีการ เชื่อมต่อแบบ Butt Fusio

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2567

อุปกรณ์ในการต่อท่อพีอี(HDPE)แบบหน้าจาน

อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับท่อ HDPE แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ชุดข้าง ใช้สำหรับประสานท่อพีอีกับอุปกรณ์ท่อ เช่น สามทางหน้าจาน ท่อลด ประตูน้ำ ฯลฯ ประกอบด้วย
1. หน้าแปลนพีอี (Stub End) 1 ตัว
2. แหวนเหล็กเหนียว (Backing Ring) 1 ตัว
3. สกรู 1 ชุด
4. ประเก็นยาง 1 แผ่น

2. ครบชุด ใช้สำหรับประสานท่อพีอีกับท่อพีอี เช่น ท่อชั้นคุณภาพไม่เท่ากัน ต่างโรงงาน ซ่อมท่อ ฯลฯ ประกอบด้วย
1. หน้าแปลนพีอี (Stub End) 2 ตัว
2. แหวนเหล็กเหนียว (Backing Ring ) 2 ตัว
3. สกรู 1 ชุด
4. ประเก็นยาง 1 แผ่น

อุปกรณ์ที่ใช้มีดังต่อไปนี้
1. Stub End ทำมาจากท่อหนาแล้วไปกลึงขึ้นรูป หรือหล่อให้ได้มิติตามมาตรฐาน ก่อนสั่งซื้อต้องระบุให้ชัดว่าเป็นชั้นความดัน(PN)อะไร,ชั้นคุณภาพเท่าใด PE 80 หรือ PE 100 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพท่อ HDPE ที่ใช้
clip_image004
2. Backing Ring ตามมาตรฐานของกปภ. ระบุว่าต้องทำมาจาก Ductile Iron แต่โดยทั่วไปโรงงานผลิตท่อ HDPE มักจะใช้เป็นเหล็กเหนียว ดังนั้น ก่อนสั่งซื้อต้องระบุให้ชัดว่าเป็นเหล็กหล่อหรือเหล็กเหนียว
clip_image006
3.สลักเกลียวและแป้นเกลียว ตามมาตรฐานของกปภ. ระบุว่าต้องทำมาจาก Ductile Iron ขนาดและความยาวของสลักเกลียวขึ้นอยู่กับขนาดของท่อและชั้นคุณภาพท่อด้วย อีกทั้งต้องระบุให้ชัดว่าใช้แบบชุดข้างหรือแบบครบชุด ปัญหาที่เจอบ่อยคือ ความยาวของสลักเกลียวไม่เพียงพอ คือใช้กับชุดข้างได้แต่ใช้กับแบบครบชุดไม่ได้
clip_image008
4. ประเก็นยาง ประเก็นยางของท่อพีอีจะใช้แบบ”หูยก”ไม่ต้องมีรูเหมือนกับประเก็นยางหน้าจานแบบงานท่อพีวีซี หรือท่อเหล็กเหนียว
clip_image010










วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567

ทำไมต้องใช้ Ductile Cast Iron ในงานวางท่อ HDPE

        เหล็กหล่อ เป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กกับคาร์บอน ซึ่งมีคาร์บอนผสมอยู่มากกว่า 2% (ที่ใช้งานจริงมักอยู่ในช่วง 2.5-4.0%) ธาตุผสมที่สำคัญอีกตัวหนึ่งก็คือ ซิลิคอน นอกจากนี้ก็ยังมี แมงกานีส กำมะถันและฟอสฟอรัส
เราอาจจะจำแนกเหล็กหล่อตามลักษณะของคาร์บอนในเหล็กหล่อนั้น ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้คือ
1) เหล็กหล่อเทา (Gray Cast Iron)
2) เหล็กหล่อขาว (White Cast Iron)
3) เหล็กหล่อเหนียว (Ductile Cast Iron) หรือเหล็กหล่อกราไฟท์กลม (Spheroidal Graphite Cast Iron)

1. เหล็กหล่อเทา (Gray Cast Iron)
คาร์บอนส่วนใหญ่ในเหล็กหล่อนี้ จะอยู่ในรูปของเกล็ดกราไฟท์ และส่วนที่เหลือจะอยู่ในโครงสร้างเพิร์ลไลท์ เหล็กหล่อเทาจึงนิ่ม ไม่เปราะนัก กลึงไสง่าย และทนการสึกหรอเนื่องจากการเสียดสีได้ดี มันจะไม่ทนต่อแรงดึง แต่ทนต่อแรงอัด การไหลลงในแบบหล่อที่บางได้ง่าย และการหดตัวเพียงเล็กน้อยตอนแข็งตัวของเหล็กหล่อเทานี้ ทำให้ได้ชิ้นงานหล่อออกมาส่วนงามมีความคมตามแง่มุมชัดเจน ฉะนั้นประมาณ 80% ของงานหล่อทั้งหมด จึงอยู่ในรูปของเหล็กหล่อเทา เช่นเครื่องยนต์ ที่ยึดรางรถไฟและฐานเครื่องจักรกลต่าง ๆ เป็นต้น
2. เหล็กหล่อขาว (White Cast Iron)
คาร์บอนทั้งหมดในเหล็กหล่อนี้จะอยู่ในรูปของซีเมนไตท์ เหล็กหล่อขาวจึงมีคุณสมบัติแข็งทนทานต่อการเสียดสี แต่เปราะ ไม่เหมาะกับการตัดหรือการกลึงไส
3. เหล็กหล่อเหนียว (Ductile Cast Iron) หรือเหล็กหล่อกราไฟท์กลม (Spheroidal Graphite Cast Iron)
โครงสร้างของเหล็กหล่อนี้คล้ายกับเหล็กหล่อเทา Ductile Cast Iron มีคุณสมบัติคล้ายกับเหล็กกล้ามาก คือ มีความแข็งแรงสูง มีความสามารถในการยืดตัวออกและสามารถขึ้นรูปได้ ใช้ทำชิ้นงานวิศวกรรม เช่น backing ring , สกรู-น๊อต ในงานวางท่อ HDPE เนื่องจากมีอายุการใช้งานได้นานกว่าการใช้เหล็กเหนียว








วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2567

ค่าแรงในการเชื่อมท่อ HDPE

         ในการเชื่อมท่อ HDPE นั้น ผู้ที่เชื่อมได้ต้องผ่านการฝึกอบรมการเชื่อมท่อ HDPE ให้เกิดความชำนาญและเข้าใจวิธีการเชื่อมที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบัน ช่างเชื่อมท่อ HDPE ยังขาดแคลนอยู่มาก และทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานก็ได้จัดอบรมเป็นช่วงๆ
ปัจจุบันค่าแรงเชื่อมท่อ HDPE พอสรุปเบื้องต้นได้ดังนี้
- ท่อ HDPE ขนาด 110 มม. เมตรละ  70    บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 160 มม. เมตรละ  90    บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 200 มม. เมตรละ 105   บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 225 มม. เมตรละ 125   บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 315 มม. เมตรละ 155   บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 450 มม. เมตรละ 175   บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 500 มม. เมตรละ 245  บาท
     ทั้งนี้ราคาจะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่เชื่อม  ระยะทางการทำงาน   สภาพพื้นที่ก่อสร้าง   (ราคาดังกล่าวไม่รวมค่าทดสอบน้ำ รถยกท่อเชื่อม )








วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2567

ทำไมต้องใช้ท่อ HDPE เป็นท่อน้ำดื่ม

     ปัจจุบัน ในการวางท่อประปาจะแบ่งชั้นคุณภาพของท่อ HDPE ออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ
- ชั้นคุณภาพที่ 1 โพลีเอทิลีน (HDPE 63) ไม่นิยมใช้ คุณภาพต่ำ
- ชั้นคุณภาพที่ 2 โพลีเอทิลีน (HDPE 80) นิยมใช้ คุณภาพปานกลาง
- ชั้นคุณภาพที่ 3 โพลีเอทิลีน (HDPE 100) นิยมใช้ คุณภาพดีสุด
คุณสมบัติเด่นของท่อ HDPE สำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่มในงานประปา ด้วยเหตุผลดังนี้
- ไม่เป็นสนิม ทนการกัดกร่อน จากเคมี เป็นวัสดุทึบแสง ไม่มีสารปนเปื้อน
- อายุการใช้งานยาวนานถึง 50 ปี
- การติดตั้งทำได้ง่ายโดยเชื่อมด้วยแผ่นความร้อน
- เลือกใช้ได้ตามแรงดันที่ต้องการเนื่องจากทนแรงดันได้ถึงสูงถึง 25 บาร์
- มีน้ำหนักเบา ขนส่งได้สะดวก
- มีความยืดหยุ่น ขณะขุดวางทำได้ง่าย กว่าท่อเหล็กและท่อพีวีซี

แต่อย่างไรก็ตาม ท่อ HDPE มีข้อเสีย กล่าวคือ ถ้าหาก แตก ชำรุด แล้วการซ่อมจะทำได้อยากกว่าท่อพีวีซีและท่อเหล็ก เนื่องจากต้องใช้เครื่องเชื่อมสำหรับเชื่อมท่อพีอีเท่านั้น





วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567

ข้อห้ามและไม่ควรทำในการวางท่อประปา

       ถ้าหากคิดจะรับเหมาวางท่อประปาผมขอแนะนำว่าเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังจึงไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้
1. ห้ามใช้ลวดสลิงหรือโซ่ในการยกท่อประปา
2. การวางท่อประปาในทางเท้า/ถนน ควรใช้ทรายหยาบกลบไม่ควรใช้ทรายด้อยคุณภาพ(ขี้เป็ด) เพราะเมื่อทรายเจอะฝนตกภายหลังจะทำให้ทางเท้าหรือถนน ทรุดตัว และเสียหายแก่ส่วนรวม
3. ห้ามวางท่อประปาโดยเด็ดขาด กรณีตรวจพบว่าในร่องท่อมีเศษคอนกรีต หิน กรวด
4. ไม่ควรวางท่อประปาในช่วงสั้นๆ เช่น เว้นท่อตามซอยต่างๆ เนื่องจากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากๆๆ
5. ห้ามใช้เครื่องจักรดันปลายท่อเพื่อต่อท่อในแต่ละท่อนโดยตรง เพราะแรงดันจากเครื่องจักรจะทำให้ท่อแตกเสียหายได้ง่าย




วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567

ขั้นตอนในการวางท่อประปา

ขั้นตอนในการวางท่อประปาสรุปได้ดังนี้
1. สำรวจและกำหนดแนวขุดวางท่อประปาให้ชัดเจน และตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ตีเส้นให้ชัดเจนและใช้เครื่องตัดคอนกรีตตามแนวท่อให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร (ถ้ามี)
3. ทุบคอนกรีตตามแนวขุดวางท่อประปา(ถ้ามี)
  • กรณีเป็นทางเท้าหน้าบ้าน ใช้รถแบคโฮชนิดติดตัวแย๊กเนื่องจากการวางท่อในเมืองมักจะเจอคอนกรีต 2 ชั้น การใช้รถแบคโฮจะเหมาะสมกว่า
  • หากเป็นถนนช่วงยาวๆควรใช้รถทุบคอนกรีตเพราะจะเร็วกว่าการใช้หัวแย๊ก
  • การใช้เครื่องลมแย๊กควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น เนื่องจากสิ้นเปลืองค่าแรงและทำงานได้ช้า
4. ใช้เครื่องจักรตักเศษคอนกรีตใส่รถหกล้อดั๊มนำไปทิ้ง หากเป็นท่อขนาดเล็ก 100 – 150 มม. ควรใช้แรงงานขนเก็บไว้เป็นกองๆรอรถมาตักเป็นครั้งๆ
5. ใช้แรงงานหรือเครื่องจักรขุดร่องดินให้ได้ความลึกหลังท่อตามกำหนดและความกว้างห่างจากข้างท่อข้างละไม่น้อยกว่า 0.15 เมตรหรือตามความเหมาะสมเพื่อให้เครื่องบดอัดสามารถทำงานได้
6. ใช้แรงงานช่วยปรับดิน(หรือทรายหากในโครงการกำหนดให้กลบด้วยทราย)ในร่องท่อให้ได้ระดับ และต้องระวังไม่ให้มีเศษคอนกรีต ก้อนหิน กรวด อยู่ในแนวร่องท่อ หากมีต้องเก็บออกจากร่องท่อให้หมด
7. ก่อนยกท่อประปาลงร่องดินต้องตรวจสอบท่อว่าไม่แตก รั่ว ชำรุดเสียหาย จากนั้นจึง
  • ใช้แรงงานคนยกท่อประปาขนาด 100 – 250 มม.
  • ใช้เครื่องจักรพร้อมสายพานยกท่อ ขนาด 300 – 400 มม.
วางลงในร่องดินหรือทรายที่ปรับบดอัดแล้ว ตาม ข้อ 6และดำเนินการต่อท่อแต่ละท่อน
8. ก่อนการต่อท่อแต่ละท่อนต้องทำความสะอาดบริเวณข้อต่อ ,ภายในท่อแต่ละท่อนให้สะอาดเสียก่อน
9. กลบหลังท่อ,ข้างท่อด้วยทราย ประมาณ 0.15 ม. โดยรอบหากในโครงการระบุให้ใช้(หากไม่ระบุให้ใช้ดินร่วนกลบแทน) ต้องอัดและกระทุ้งดิน/ทรายให้แน่น ซึ่งต้องระวังไม่ให้เกิดอันตรายกับท่อที่วางไว้แล้ว โดยทำการบดอัดหลังท่อเป็นชั้นๆจนถึงระดับชั้นผิวทางเดิม
10. เมื่อเลิกหรือหยุดงานในแต่ละวัน จะต้องอุด/ปิดปลายท่อ เพื่อป้องกันเศษขยะ ดิน ไหลเข้าไปในท่อ
11. ทำการทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อเป็นช่วงๆ ความยาวที่ทดสอบกำหนดขณะก่อสร้าง
12. ทำการซ่อมผิวทางหรือทางเท้าคืนตามสภาพเดิม












วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2567

เตรียมการก่อนวางท่อประปา

        การเตรียมงานในงานวางท่อประปามีความสำคัญเป็นอย่างมาก งานจะช้าหรือเร็วก็อยู่ในขั้นตอนนี้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. ก่อนวางท่อประปาต้องตรวจสอบอุปกรณ์ท่อล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7วัน
2. ทำหนังสือแจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งให้ทราบหรือร่วมตรวจสอบแนวที่จะขุดวางท่อประปา
3. จัดเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยให้พร้อม เช่น ป้ายเตือน ไฟไซเรน ธงเซฟตี้ กรวยยาง
4. จุดเริ่มต้นการวางท่อควรใกล้แหล่งน้ำมากที่สุดก่อนเพื่อสะดวกต่อการเติมน้ำเข้าท่อเพื่อทดสอบ



วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567

ขั้นตอนการเชื่อมท่อ HDPE

การต่อท่อ HDPE โดยวิธีการเชื่อม ซึ่งมี 2 แบบ คือ
1. เชื่อมแบบธรรมดาใช้คนควบคุม กล่าวคือ เราต้องคำนวณค่าต่างๆไว้ก่อน และต้องจับเวลา ตามระยะเวลาที่คำนวณได้ ทำให้การเชื่อมผิดพลาดได้ง่าย
2. เชื่อมแบบใช้เครื่องควบคุม(data logger) เมื่อป้อนข้อมูลลงเครื่อง data loggerเสร็จ เครื่องก็จะจัดการขั้นตอนการเชื่อมให้ทั้งหมด
ทั้งสองวิธีมีหลักการเชื่อมที่เหมือนกัน พอสรุปได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เลือกใส้ประกับให้เหมาะสมกับขนาดท่อ ขันน๊อตยึดแคล้มป์ให้แน่นเพื่อรัดท่อพร้อมจับท่อให้อยู่ในแนวเส้นตรง โดยให้ปลายท่อยื่นออกจากแคล้มป์ประมาณ 30 -50 มม. และให้เหลื่อมกันไม่เกิน 10 % ของความหนาท่อ
ขั้นตอนที่ 2 ใส่ตัวปาดหน้าท่อระหว่างปลายท่อทั้งสองด้าน เดินเครื่องตัวปาดหน้าท่อ ค่อยๆเลื่อนปลายท่อเข้าหาตัวปาดหน้าท่อโดยใช้ระบบไฮโดรลิคควบคุม และจะต้องให้ใบมีดปาดหน้าท่อทั้งสองด้านให้เรียบเสมอกัน
ขั้นตอนที่ 3 ใส่แผ่นความร้อนระหว่างปลายท่อทั้ง 2 ด้าน ใช้แรงดันจากปั๊มไฮโดรลิคดึงปลายท่อทั้ง สองด้านเข้าชนกับแผ่นความร้อนจนกระทั่งปลายท่อทั้งสองด้านเริ่มละลายเป็นตะเข็บกว้างโดยใช้ระยะเวลาตามค่าพารามิเตอร์ที่คำนวณหรืออ่านได้จากเครื่องดาต้าล๊อคเกอร์
ขั้นตอนที่ 4 เลื่อนปลายท่อออกจากแผ่นความร้อนและยกแผ่นความร้อนออก เลือนปลายท่อเข้าหากันโดยใช้แรงงดันเชื่อมและระยะเวลาเชื่อมตาม ค่าพารามิเตอร์ที่คำนวณหรืออ่านได้จากเครื่องดาต้าล๊อคเกอร์
ขั้นตอนที่ 5 เมื่อเชื่อมท่อเสร็จแล้วให้ถอดแค้มป์ออก และเลื่อนท่อออกจากเครื่องเชื่อม จากนั้นจึงเชื่อมท่อนถัดไป








วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567

ปัญหาในงาน Horizontal Directional Drilling

    ในงานดึงท่อลอดด้วยวิธี HDD(Horizontal Directional Drilling) จะต้องวางแผนเตรียมการเป็นอย่างดีเนื่องจากการวางท่อด้วยวิธี HDD(Horizontal Directional Drilling) จะใช้พื้นที่ค่อนข้างมากเพื่อให้ได้ระยะตามที่ต้องการเราจะต้องกำหนดตำแหน่งจุดติดตั้งเครื่องจักรสำหรับดึงท่อให้ชัดเจน  โดยการกำหนดรูปตัดและระดับให้ชัดเจนเพื่อจะได้ทราบความยาวท่อที่จะดึงให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การดึงท่อลอดทางหลวงระยะในการติดตั้งเครื่องจักรต้องห่างจากเขตทางไม่น้อยกว่า 10 เมตร(รวมระยะก้านดึงของเครื่องแล้ว) เมื่อดึงท่อแล้วเสร็จระยะที่กำหนด(จุดสิ้นสุดเขตทาง) จะได้ความลึกหลังท่อตามที่ต้องการ แต่ถ้าหากว่าเราติดตั้งเครื่องจักรในเขตทางใกล้กับคันทางเมื่อดึงท่อแล้วจะทำให้ความลึกหลังท่อไม่ได้ตามที่กำหนด และไม่ถูกต้องตามแบบอนุญาตของทางหลวงอีกด้วย
HDD(Horizontal Directional Drilling)
   การดึงท่อลอดด้วยวิธี HDD(Horizontal Directional Drilling) จะปรัมมุมมากสุดไม่เกิน 45 องศา  ดังนั้น การดันลอดด้วยวิธีนี้จะไม่เหมาะกับงานดันท่อช่วงสั้นๆ

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2567

การวางท่อเหล็กเหนียวโดยต่อท่อแบบใช้ Mcanical Coupling

   การวางท่อเหล็กเหนียวชนิดใต้ดิน โดยต่อท่อแต่ละท่อนด้วย Mcanical Coupling เมื่อเปรียบเทียบกับการต่อด้วยหน้าจานเหล็กเหนียวตาดี พบว่าการทำงานด้วยวิธีนี้จะเร็วกว่ากันมาก และมีความยืดหยุ่นต่อการทำงานมากกว่าโดยสามารถเบนซ้าย-ขวา หรือ บน-ล่าง ประมาณ 10 องศา ได้โดยไม่รั่ว ขณะที่การต่อแบบหน้าจานทำได้ยาก

clip_image002


แสดงการวางท่อและต่อท่อด้วย Mcanical Coupling

การต่อท่อด้วย Mcanical Coupling มีวิธีการทำงานดังนี้

1. ขุดร่องดินจนได้ความลึกตามต้องการ

2. ใช้แรงงานปรับบดอัดดินในร่องดินให้ได้ระดับ

3. วัดระยะความยาวปลายท่อท่อนที่ 1 ว่าอยู่ตรงจุดไหน เมื่อได้แล้วให้ขุดหลุมให้ลึกจากระดับท้องท่อท่อนที่ 1 ประมาณ 30 ซม. โดยให้ห่างจากปลายท่อท่อนที่ 1 และ 2 ข้างละ 50 ซม.

4. ยกท่อท่อนที่ 1 โดยใช้สายพานยกท่อลงในร่องดิน

5. ทำความสะอาดปลายท่อท่อนที่ 1 โดยใช้ผ้าเช็ดให้สะอาดทั้งภายนอกและภายใน

6. ประกอบแหวนข้าง ชิ้นที่ 1 และตามด้วยแหวนยางชิ้นที่ 1 โดยใช้มือดันเข้าไปห่างจากปลายท่อประมาณ 10 ซม.

7. ยกท่อท่อนที่ 2 ลงในร่องดินที่ขุดเตรียมไว้แล้ว ทำความสะอาดปลายท่อท่อนที่ 2 โดยใช้ผ้าเช็ดให้สะอาดทั้งภายนอกและภายใน

8. ประกอบแหวนข้าง ชิ้นที่ 2 , แหวนยางชิ้นที่ 2 , และแหวนข้างตามลำดับ โดยใช้มือดันแหวนกลางโผล่จากปลายท่อท่อนที่ 2 ประมาณ 5 ซม.

9. ใช้รถยกท่อท่อนที่ 2 ให้พ้นจากระดับดินเล็กน้อยแล้วใช้แรงงานจับปลายท่อท่อนที่ 2 ค่อยๆดันท่อท่อนที่ 2 เข้าไปหาท่อท่อนที่ 1 โดยใช้แหวนกลางเป็นตัวบังคับ โดยให้ปลายท่อระหว่างท่อนที่ 1 กับท่อท่อนที่ 2 ห่างกันไม่เกิน 5 มม.

10. ใช้ประแจหรือบล๊อคลมขันน๊อตทุกๆตัวให้แน่น

11. ทำตามลำดับที่ 3 ถึง 9 จนเสร็จ

12. เมื่อวางได้ความยาวพอประมาณให้ปิดหน้าจานตาบอดเพื่อเติมน้ำและทดสอบน้ำต่อไป

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2567

วิธีดันท่อปลอกลอดถนน (pipe jacking)

วิธีดันท่อปลอกลอดถนน (pipe jacking) ขั้นตอนในการทำงานมีดังนี้
1. ขุดหลุมเปิดบ่อรับกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 6.00 เมตรและลึกโดยประมาณ 3.50 เมตร โดยให้ตอกเหล็กค้ำยันจนถึงดินแข็ง
clip_image002
2. แต่งก้นหลุมให้เรียบร้อยจนได้ระดับ
3. วางรางเหล็กที่มีความยาวใกล้เคียงกับขนาดของความยาวหลุม โดยให้ปลายรางข้างหนึ่งแตะชิดกับเสาค้ำยัน
clip_image004
4. ติดตั้งเครื่องมือดันท่อในตำแหน่งเดียวกับรางเหล็ก และตั้งกระบอกไฮโดรลิคโดยยึดกับรางเหล็กให้มั่นคง
5. วางท่อปลอกความยาวประมาณ 3 เมตร ลงในตำแหน่งเดียวกับรางเหล็ก
6. ใช้แผ่นเหล็กรองระหว่างปลายท่อปลอกกับแกนกระบอกไฮโดรลิคแล้วจึงเริ่มทำการดัน (ในระหว่างดันท่อได้พอประมาณใช้รถแบคโฮตักดินขึ้นจากหลุม)
7. เมื่อทำการดันท่อปลอกจมดินจนเหลือปลายโผล่พอประมาณ 40 ซม. ให้ถอยแกนของกระบอกโฮโดรลิคแตะชิดกับเสาค้ำยัน
8. วางท่อปลอกท่อนใหม่(ความยาว 3 เมตร)เชื่อมต่อท่อปลอกที่ดันไปแล้วเข้าด้วยกันโดยรอบและต้องเช็คระดับน้ำให้ได้ระดับ แล้วจึงทำการดันต่อ
9. ทำตามขั้นตอนที่ 5 – 8 จนสิ้นสุดการดันท่อตามแบบแปลน
10. ทำการวางท่อไส้(ท่อลอด) ตามแบบแปลนโดยให้ปลายทั้งสองด้านอยู่ในแนวระดับกับท่อเดิมหรือท่อวางใหม่ให้มากที่จุด
11. อุดปลายท่อปลอกทั้งสองด้านด้วยปูนทรายให้ปิดสนิทเพื่อกันดินไหลเข้าไปในท่อปลอกซึ่งจะทำให้ดินบริเวณที่ดันลอดทรุดและยุบตัวได้
*** ควรเปิดบ่อรับด้วยเพื่อมิให้ชนท่อเดิม(ถ้ามี)














วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2567

การเลือกท่อพีวีสำหรับใช้งานวางท่อประปา

    โดยทั่วไปท่อ PVC จะมีหลายชั้นคุณภาพ เช่น ชั้น 5 ชั้น 8.5 ชั้น 13.5 แต่ในงานวางท่อเมนส่งน้ำและจ่ายน้ำประปาหากแบบไม่ระบุเป็นอย่างอื่น ตามมาตรฐานของการประปาส่วนภูมิภาคระบุให้ใช้ดังนี้

1. ท่อพีวีซี ขนาด เส้นผาศูนย์กลาง < 55 มม. ให้ใช้ชนิดปลายธรรมดา ชั้น 13.5 โดยทั่วไปยาวท่อนละ 4 เมตร อุปกรณ์ท่อใช้อุปกรณ์เป็นพีวีซี ชั้น 13.5 ชนิดปลายเรียบต่อด้วยกาวต่อท่อ

2. ท่อพีวีซี ขนาด เส้นผาศูนย์กลาง 55 - 80 มม. ให้ใช้ชนิดปลายบานต่อด้วยแหวนยาง ชั้น 13.5 โดยทั่วไปยาวท่อนละ 4 เมตร อุปกรณ์ท่อใช้อุปกรณ์พีวีซี ชั้น 13.5 ชนิดต่อด้วยแหวนยาง ใช้น้ำยาหล่อลื่นแหวนยาง

3. ท่อพีวีซี ขนาดเส้นผาศูนย์กลาง   > 80 มม. ให้ใช้ชนิดปลายบานต่อด้วยแหวนยาง ชั้น 8.5 โดยทั่วไปยาวท่อนละ 6 เมตร เมื่อเราสั่งซื้อท่อจะมีแหวนยางมาด้วยเสมอ ท่อ 1 ท่อนจะใช้แหวนยาง 1 เส้น ใช้น้ำยาหล่อลื่นแหวนยางเป็นตัวประสานระหว่างท่อแต่ละท่อน อุปกรณ์ท่อใช้อุปกรณ์เหล็กหล่อเทาแบบปลายปากระฆังหรือแบบปลายหน้าจานและต้องได้มาตรฐาน มอก. 918 ด้วย

clip_image002

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2567

การติดตั้งแอร์วาล์ว (Air Valve)

การติดตั้งแอร์วาล์ว(Air Valve)

     งานติดตั้งชุดแอร์วาล์วจะติดตั้งตรงตำแหน่งจุดสูงสุดของแนวท่อ หรือจุดปลายของตำแหน่งสะพานรับท่อมีวัตถุประสงค์เพื่อระบายอากาศในเส้นท่อ

ปัญหาที่เจอบ่อยคือ

1. พบว่าบางจุดในแบบแปลนไม่มีตำแหน่งติดตั้งแอร์วาล์วเมื่อวางท่อแล้วเสร็จน้ำประปาจะไม่ไหลเนื่องจากมีลมในเส้นท่อ ทำให้ต้องแจ้งผู้ควบคุมงานเพื่อคิดค่างานเพิ่มและต้องมาติดตั้งอีกครั้ง

2. ขณะติดตั้งแอร์วาล์วเสร็จเนื่องจากดินยังไม่แน่นเมื่อติดตั้งบ่อ คสล.เสร็จและทิ้งช่วงเวลาไม่นานบ่อ คสล.จะทรุดและเอียงทำให้ไปกดเสาแอร์วาล์วและสามทางแตกหรือฉีกขาดในที่สุด ดังนั้น ควรกดเสาเข็มไม้ไว้ที่สามทางตัวล่างและทั้งสี่มุมของบ่อ คสล.


วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2567

การต่อท่อพีอีที่มีความหนาไม่เท่ากัน

           ในงานวางท่อพีอีท่อจะมีความหนาแตกต่างกันตามชนิดของ PN  ท่อพีอีที่มี PN สูงความหนาก็จะมีมากตามไปด้วย ในกรณีที่จำเป็นต้องต่อท่อพีอีที่มีความหนาต่างกัน (PN ต่างกัน) เช่นในกรณีที่ท่อพีอีเดิมที่วางไว้แล้วเป็นท่อ PN 6 ต่อกับท่อพีอี ที่ต้องการวางใหม่เป็น PN 10 การต่อท่อพีอีลักษณะดังกล่าว จะต้องต่อด้วยแบบหน้าจาน (ใช้สตับเอ็นและแบคกิ้งริง) เนื่องจากไม่สามารถทำการเชื่อมชนได้เพราะความหนาต่างกันทำให้พื้นที่หน้าตัดท่อเหลี่ยมกันมากเมื่อเชื่อมแล้วท่อพีอีจะใช้งานได้ไม่นานก็จะแตกเสียหายได้

       ปัญหาที่ความหนาท่อพีอีไม่เท่ากันสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ได้แก่

    1.  ท่อที่ผลิตจากโรงงานไม่ได้มาตรฐานมีลักษณะเบี้ยวไม่กลมและมีความหนาไม่เท่ากัน   ดังนั้นก่อนการเชื่อมท่อพีอีต้องตัดท่อที่มีลักษณะดังกล่าวออกเสียก่อน เพื่อจะให้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

    2.  ท่อพีอีที่ใช้ความดันที่สูงเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว   ท่อพีอีจะมีขนาดโตกว่ามาตรฐานเล็กน้อยประมาณ 3-5% ของความหนาท่อ   เช่น ขนาดมาตรฐาน OD500 มม.เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่งจะมีขนาด OD501 มม. ดังนั้นในการต่อท่อพีอีเดิมกับท่อพีอีใหม่ต้องต่อท่อพีอีด้วยหน้าจานเท่านั้น

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567

การวางท่อเหล็กเหนียวใต้ดินแบบต่อท่อด้วยหน้าจาน


        การวางท่อเหล็กเหนียวใต้ดินแบบต่อท่อด้วยหน้าจานเหล็กเหนียวตาดี ใช้สำหรับท่อแบบปลายเรียบทั้ง 2 ด้าน นิยมใช้กับท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 700 มม.    การต่อท่อเหล็กเหนียวใต้ดินด้วยหน้าจานตาดีส่วนใหญ่จะใช้สำหรับติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ เช่น สามทาง ท่อโค้ง ประตูน้ำ ท่อลด ส่วนการต่อท่อระหว่างท่อแต่ละท่อนมักไม่ค่อยนิยมโดยเฉพาะการวางท่อในยานชุมชน เนื่องจากในย่านชุมชนจะมีสิ่งกีดขวางใต้ดินจำนวนมาก เช่น ท่อระบายน้ำ ทอประปาเดิม ซึ่งการทำงานจะยากและช้ากว่าการต่อด้วยแมคนานิคคัพปิ้ง การต่อท่อด้วยหน้าจานเหล็กเหนียวตาดีก่อนที่จะเริ่มขุดวางท่อจะต้องเตรียมการโดยเชื่อมหน้าจานติดกับปลายท่อทั้งสองด้านไว้ก่อน ปัญหาที่เจอในขณะก่อสร้างคือ หากเชื่อมหน้าจานไม่ได้ระดับ เอียงซ้ายหรือขวาเมื่อประกอบท่อแต่ละท่อนแล้วจะทำให้ระดับไม่ได้ ประกอบยาก ทางที่ดีควรสั่งเชื่อมหน้าจานมาจากโรงงานน่าจะดีกว่า ยกเว้นกรณีติดกับอุปกรณ์ท่อให้เชื่อมหน้าจานในสนาม หากเชื่อมก่อนเมื่อประกอบท่อกับอุปกรณ์จะทำให้รูหน้าจานไม่ตรงกัน ซึ่งจะเจอบ่อยมาก จึงทำให้ทำงานได้ช้า การวางท่อเหล็กเหนียวใต้ดินโดยต่อท่อด้วยหน้าจานเหล็กเหนียวตาดี
ซึ่งมีวิธีการทำงานดังนี้
1. ขุดร่องดินจนได้ความลึกตามต้องการ
2. ใช้แรงงานปรับบดอัดดินในร่องดินให้ได้ระดับ
3. วัดระยะความยาวปลายท่อท่อนที่ 1 ว่าอยู่ตรงจุดไหน เมื่อได้แล้วให้ขุดหลุมให้ลึกจากระดับท้องท่อท่อนที่ 1 ประมาณ 30 ซม. โดยให้ห่างจากปลายท่อท่อนที่ 1 และ 2 ข้างละ 50 ซม.
4. ยกท่อท่อนที่ 1 โดยใช้สายพานยกท่อลงในร่องดิน
5. ทำความสะอาดหน้าจานด้านที่จะใส่ประเก็นยางให้สะอาดโดยใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด
6. ยกท่อท่อนที่ 2 ลงในร่องดินที่ขุดเตรียมไว้แล้ว ทำความสะอาดหน้าจานท่อท่อนที่ 2 โดยใช้ผ้าเช็ดให้สะอาด
7. ใส่น๊อตหน้าจานท่อท่อนที่ 1 ประมาณ 4 ตัวลักษณะเป็นมุม 90 องศา
8. ใส่ประเก็นยางในน๊อตข้อที่ 7.
9. ใช้รถยกท่อท่อนที่ 2 ให้พ้นจากระดับดินเล็กน้อยแล้วใช้แรงงานจับปลายท่อท่อนที่ 2 ค่อยๆดันท่อท่อนที่ 2 เข้าไปหาท่อท่อนที่ 1 โดยใช้น๊อตทั้ง 4 เป็นตัวบังคับ
10. ใส่น๊อตส่วนที่เหลือเพิ่มเติมโดยให้สลับหัว-สลับท้ายแล้วใช้ประแจหรือบล๊อคลมขันน๊อตทุกๆตัวให้แน่น
11. ทำตามลำดับที่ 3 ถึง 10 จนเสร็จ
12. เมื่อวางได้ความยาวพอประมาณให้ปิดหน้าจานตาบอดเพื่อเติมน้ำและทดสอบน้ำต่อไป

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567

การเลือกวิธีงานดันท่อลอด

งานท่อลอดถนนโดยทั่วไปมี 2 วิธี ได้แก่  PIPEJACKING และ Horizontal Directional Drilling

1. PIPEJACKING เป็นการดันท่อปลอกเหล็กโดยการดันท่อและเชื่อมต่อท่อเป็นท่อนๆละประมาณ 3 ถึง 6 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ก่อสร้างด้วย แบ่งเป็น  2 ประเภท

  1.1 การดันท่อปลอกเหล็กโดยอาศัยแม่แรงโฮโดรลิคดันท่อปลอกเหล็กโดยตรง การดันด้วยวิธีนี้การทำงานจะทำได้ค่อนข้างช้าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไม่มากนัก

  1.2 การดันท่อปลอกเหล็กโดยอาศัยใบเจาะ (Auger) เจาะดินออกมา การดันท่อด้วยวิธีนี้จะทำได้เร็วมากแต่จะใช้เครื่องมือและอุปกรณ์มากตามไปด้วย

ข้อดี ของการดันท่อลอด

1. ต้องการพื้นที่ในการทำงานไม่มาก

2. เหมาะกับพื้นที่ที่มีสาธารณูปโภค ต่างๆก่อนแล้ว

ข้อเสีย ของการดันท่อลอด

1. ไม่สามารถดันท่อได้ยาวมากนัก

2. ควบคุมทิศทางในการดันได้ยาก ไม่แน่นอน ต้องใช้ผู้ที่เชียวชาญโดยเฉพาะ

2. Horizontal Directional Drilling เป็นการเจาะดึงท่อเหล็ก,HDPE

ข้อดี  ของHorizontal Directional Drilling (HDD)

  1. ไม่จำเป็นต้องเปิดบ่อก่อสร้าง

  2.  เหมาะกับการวางท่อที่มีระยะยาวมากกว่า 100 เมตรขึ้นไป

  3.  สามารถกำหนดความลึกและทิศทางของปลายท่อได้แม่นยำ

ข้อเสีย ของHorizontal Directional Drilling (HDD)

1. ใช้พื้นที่ในการทำงานมาก

2. ก่อนการดึงท่อจะต้องเชื่อมท่อให้มีความยาวต่อเนื่องเท่ากับความยาวที่ต้องการทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2567

การทดสอบแรงดันน้ำ(Pressure Test) ในเส้นท่อ

     ในงานวางท่อประปาจะประกอบด้วยงานขุดวางและงานทดสอบแรงดันน้ำ(Pressure Test) ในเส้นท่อ และนับว่าเป็นส่วนที่สำคัญรองจากงานวางท่อ ซึ่งขณะวางท่อต้องวางแผนการทดสอบน้ำตามจุดที่ขุดวางท่อตามไปด้วย ไม่ควรปล่อยไว้ยาวๆแล้วจึงทดสอบ เพราะว่ามีปัญหามากๆ     การทดสอบแรงดันในเส้นท่อเป็นการทดสอบการรั่วซึมของข้อต่อว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้หรือไม่ โดยยึดถือปริมาณการรั่วซึมสูงสุดที่ยอมให้เป็นเกณฑ์ ซึ่งได้มาจากการคำนวณหรือกราฟ ในงานทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อปกติต้องเติมน้ำในเส้นท่อไว้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง แล้วจึงทำการทดสอบความดันน้ำ สำหรับอุปกรณ์ที่สำคัญขาดเสียมิได้นั้นก็คือ

1. เกจวัดความดัน (Pressure Gage) สำหรับอ่านค่า ซึ่งก่อนการใช้งานต้องปรับตั้งค่าให้เที่ยงตรงก่อน

2. เกตุวาล์วสำหรับควบคุมการปล่อยน้ำเข้าและจ่ายน้ำออกตามขั้นตอนของการทดสอบ พร้อมทั้งติดตั้งจุดระบายอากาศที่ต้นทาง

3. มาตรสำหรับวัดปริมาตรน้ำที่เติมเข้าไปและปล่อยออกตามขั้นตอนแต่ละช่วงของการทดสอบ

4. ที่ตำแหน่งปลายท่อต้องติดตั้งจุดระบายอากาศ หรือจุดอื่นๆที่จำเป็น กรณีท่อที่ทดสอบนั้นเปลี่ยนแปลงระดับมาก


clip_image002

          ตัวอย่างจุดทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อ

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2567

การติดตั้งเสา คสล.รับท่อเหล็ก

ในการก่อสร้างเสา คสล.เพื่อรับท่อเหล็ก ส่วนใหญ่จะเป็นการก่อสร้างช่วงข้ามคลอง หนอง บึง ห้วย เนื่องจากไม่สามารถวางท่อทั่วไปได้ แต่การก่อสร้างเสา คสล. นั้นจะต้องสำรวจแนวและระดับในการก่อสร้างให้ชัดเจนเสียก่อน โดยมีข้อพิจารณาดังนี้

  • แนวในการก่อสร้างเสา คสล. รับท่อเหล็ก จะต้องก่อสร้างให้ชิดแนวเขตทางมากที่สุด เนื่องจากในอนาคตข้างหน้าอาจจะมีการขยายเขตวางท่อประปาเพิ่มเติม จะได้มีพื้นที่ในการก่อสร้างเพิ่มเติมได้ จะสังเกตุได้หลายพื้นที่มีเสารับท่อ คสล. หลายขนาด พื้นที่ในการวางท่อใหม่แทบจะไม่มี
  • ตำแหน่งของเสา คสล. รับท่อจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับเสาตอม่อของสะพานข้ามคลอง เพื่อป้องกันไม่ให้ขวางทิศทางการไหลของน้ำ
  • ระดับของเสา คสล.รับท่อเมื่อติดตั้งท่อเหล็กแล้วระดับท้องท่อเหล็กจะต้องสูงไม่น้อยกว่าท้องสะพานข้ามคลอง

      
เสารับท่อ คสล.

ตัวอย่างเสา คสล.รับท่อเหล็กขนาด 400-600 มม.
            https://youtu.be/FXHaQneXHIg

ตัวอย่างเสา คสล.รับท่อเหล็กขนาด 200-300 มม.

https://youtu.be/WR75XdYL41A

ตัวอย่างเสา คสล.รับท่อเหล็กขนาด 100-150 มม.

https://youtu.be/D2GmydEwz0w

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567

วิธีตรวจสอบค่าน้ำประปาสูงผิดปกติ

      ปกติแล้วการใช้น้ำประปาตามบ้านพักอาศัยทั่วๆไปเฉลี่ยคนละ 200 ลิตรต่อวัน ใน 1 เดือนการใช้น้ำประมาณ 6000 ลิตรต่อ 1 คน ดังนั้นค่าน้ำประปาสำหรับบ้านพักอาศัยราคาประมาณ คิวละ 12  บาท (น้ำ 1 คิวมีค่าเท่ากับ 1000 ลิตร) หรือประมาณลิตรละ 12 สตางค์ ดังนั้นการใช้น้ำทั้งเดือนประมาณคนละ  72 บาท เมื่อรวมค่าบริการอีก 50 บาท 1 เดือนเราจะใช้น้ำประปาประมาณ 100 บาท
ซึ่งเราจะเห็นข่าวบ่อยๆที่ค่าน้ำประปาสูงผิดปกติเกินจริง ดังนั้นเราต้องหมั่นตรวจสอบมิเตอร์น้ำทุกๆสัปดาห์ก็จะลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ แต่ถ้าหากพบว่าใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาผิดปกติให้ตรวจสอบดังนี้
1. ให้ปิดก๊อกน้ำทุกตัวภายในบ้าน(หลังจากมาตรวัดน้ำ)
2.  ถ้าพบว่ามิเตอร์น้ำยังหมุนแสดงว่าท่อภายในของเราชำรุด
3. ปิดมิเตอร์น้ำไว้ก่อนและรีบดำเนินการซ่อมเนื่องจากค่าใช้จ่ายส่วนนี้เจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบเองทั้งหมดครับ