วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2567

ค่าแรงในการเชื่อมท่อ HDPE

         ในการเชื่อมท่อ HDPE นั้น ผู้ที่เชื่อมได้ต้องผ่านการฝึกอบรมการเชื่อมท่อ HDPE ให้เกิดความชำนาญและเข้าใจวิธีการเชื่อมที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบัน ช่างเชื่อมท่อ HDPE ยังขาดแคลนอยู่มาก และทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานก็ได้จัดอบรมเป็นช่วงๆ
ปัจจุบันค่าแรงเชื่อมท่อ HDPE พอสรุปเบื้องต้นได้ดังนี้
- ท่อ HDPE ขนาด 110 มม. เมตรละ  70    บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 160 มม. เมตรละ  90    บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 200 มม. เมตรละ 105   บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 225 มม. เมตรละ 125   บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 315 มม. เมตรละ 155   บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 450 มม. เมตรละ 175   บาท
- ท่อ HDPE ขนาด 500 มม. เมตรละ 245  บาท
     ทั้งนี้ราคาจะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่เชื่อม  ระยะทางการทำงาน   สภาพพื้นที่ก่อสร้าง   (ราคาดังกล่าวไม่รวมค่าทดสอบน้ำ รถยกท่อเชื่อม )








วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2567

ทำไมต้องใช้ท่อ HDPE เป็นท่อน้ำดื่ม

     ปัจจุบัน ในการวางท่อประปาจะแบ่งชั้นคุณภาพของท่อ HDPE ออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ
- ชั้นคุณภาพที่ 1 โพลีเอทิลีน (HDPE 63) ไม่นิยมใช้ คุณภาพต่ำ
- ชั้นคุณภาพที่ 2 โพลีเอทิลีน (HDPE 80) นิยมใช้ คุณภาพปานกลาง
- ชั้นคุณภาพที่ 3 โพลีเอทิลีน (HDPE 100) นิยมใช้ คุณภาพดีสุด
คุณสมบัติเด่นของท่อ HDPE สำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่มในงานประปา ด้วยเหตุผลดังนี้
- ไม่เป็นสนิม ทนการกัดกร่อน จากเคมี เป็นวัสดุทึบแสง ไม่มีสารปนเปื้อน
- อายุการใช้งานยาวนานถึง 50 ปี
- การติดตั้งทำได้ง่ายโดยเชื่อมด้วยแผ่นความร้อน
- เลือกใช้ได้ตามแรงดันที่ต้องการเนื่องจากทนแรงดันได้ถึงสูงถึง 25 บาร์
- มีน้ำหนักเบา ขนส่งได้สะดวก
- มีความยืดหยุ่น ขณะขุดวางทำได้ง่าย กว่าท่อเหล็กและท่อพีวีซี

แต่อย่างไรก็ตาม ท่อ HDPE มีข้อเสีย กล่าวคือ ถ้าหาก แตก ชำรุด แล้วการซ่อมจะทำได้อยากกว่าท่อพีวีซีและท่อเหล็ก เนื่องจากต้องใช้เครื่องเชื่อมสำหรับเชื่อมท่อพีอีเท่านั้น





วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567

ข้อห้ามและไม่ควรทำในการวางท่อประปา

       ถ้าหากคิดจะรับเหมาวางท่อประปาผมขอแนะนำว่าเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังจึงไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้
1. ห้ามใช้ลวดสลิงหรือโซ่ในการยกท่อประปา
2. การวางท่อประปาในทางเท้า/ถนน ควรใช้ทรายหยาบกลบไม่ควรใช้ทรายด้อยคุณภาพ(ขี้เป็ด) เพราะเมื่อทรายเจอะฝนตกภายหลังจะทำให้ทางเท้าหรือถนน ทรุดตัว และเสียหายแก่ส่วนรวม
3. ห้ามวางท่อประปาโดยเด็ดขาด กรณีตรวจพบว่าในร่องท่อมีเศษคอนกรีต หิน กรวด
4. ไม่ควรวางท่อประปาในช่วงสั้นๆ เช่น เว้นท่อตามซอยต่างๆ เนื่องจากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากๆๆ
5. ห้ามใช้เครื่องจักรดันปลายท่อเพื่อต่อท่อในแต่ละท่อนโดยตรง เพราะแรงดันจากเครื่องจักรจะทำให้ท่อแตกเสียหายได้ง่าย




วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567

ขั้นตอนในการวางท่อประปา

ขั้นตอนในการวางท่อประปาสรุปได้ดังนี้
1. สำรวจและกำหนดแนวขุดวางท่อประปาให้ชัดเจน และตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ตีเส้นให้ชัดเจนและใช้เครื่องตัดคอนกรีตตามแนวท่อให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร (ถ้ามี)
3. ทุบคอนกรีตตามแนวขุดวางท่อประปา(ถ้ามี)
  • กรณีเป็นทางเท้าหน้าบ้าน ใช้รถแบคโฮชนิดติดตัวแย๊กเนื่องจากการวางท่อในเมืองมักจะเจอคอนกรีต 2 ชั้น การใช้รถแบคโฮจะเหมาะสมกว่า
  • หากเป็นถนนช่วงยาวๆควรใช้รถทุบคอนกรีตเพราะจะเร็วกว่าการใช้หัวแย๊ก
  • การใช้เครื่องลมแย๊กควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น เนื่องจากสิ้นเปลืองค่าแรงและทำงานได้ช้า
4. ใช้เครื่องจักรตักเศษคอนกรีตใส่รถหกล้อดั๊มนำไปทิ้ง หากเป็นท่อขนาดเล็ก 100 – 150 มม. ควรใช้แรงงานขนเก็บไว้เป็นกองๆรอรถมาตักเป็นครั้งๆ
5. ใช้แรงงานหรือเครื่องจักรขุดร่องดินให้ได้ความลึกหลังท่อตามกำหนดและความกว้างห่างจากข้างท่อข้างละไม่น้อยกว่า 0.15 เมตรหรือตามความเหมาะสมเพื่อให้เครื่องบดอัดสามารถทำงานได้
6. ใช้แรงงานช่วยปรับดิน(หรือทรายหากในโครงการกำหนดให้กลบด้วยทราย)ในร่องท่อให้ได้ระดับ และต้องระวังไม่ให้มีเศษคอนกรีต ก้อนหิน กรวด อยู่ในแนวร่องท่อ หากมีต้องเก็บออกจากร่องท่อให้หมด
7. ก่อนยกท่อประปาลงร่องดินต้องตรวจสอบท่อว่าไม่แตก รั่ว ชำรุดเสียหาย จากนั้นจึง
  • ใช้แรงงานคนยกท่อประปาขนาด 100 – 250 มม.
  • ใช้เครื่องจักรพร้อมสายพานยกท่อ ขนาด 300 – 400 มม.
วางลงในร่องดินหรือทรายที่ปรับบดอัดแล้ว ตาม ข้อ 6และดำเนินการต่อท่อแต่ละท่อน
8. ก่อนการต่อท่อแต่ละท่อนต้องทำความสะอาดบริเวณข้อต่อ ,ภายในท่อแต่ละท่อนให้สะอาดเสียก่อน
9. กลบหลังท่อ,ข้างท่อด้วยทราย ประมาณ 0.15 ม. โดยรอบหากในโครงการระบุให้ใช้(หากไม่ระบุให้ใช้ดินร่วนกลบแทน) ต้องอัดและกระทุ้งดิน/ทรายให้แน่น ซึ่งต้องระวังไม่ให้เกิดอันตรายกับท่อที่วางไว้แล้ว โดยทำการบดอัดหลังท่อเป็นชั้นๆจนถึงระดับชั้นผิวทางเดิม
10. เมื่อเลิกหรือหยุดงานในแต่ละวัน จะต้องอุด/ปิดปลายท่อ เพื่อป้องกันเศษขยะ ดิน ไหลเข้าไปในท่อ
11. ทำการทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อเป็นช่วงๆ ความยาวที่ทดสอบกำหนดขณะก่อสร้าง
12. ทำการซ่อมผิวทางหรือทางเท้าคืนตามสภาพเดิม












วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2567

เตรียมการก่อนวางท่อประปา

        การเตรียมงานในงานวางท่อประปามีความสำคัญเป็นอย่างมาก งานจะช้าหรือเร็วก็อยู่ในขั้นตอนนี้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. ก่อนวางท่อประปาต้องตรวจสอบอุปกรณ์ท่อล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7วัน
2. ทำหนังสือแจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งให้ทราบหรือร่วมตรวจสอบแนวที่จะขุดวางท่อประปา
3. จัดเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยให้พร้อม เช่น ป้ายเตือน ไฟไซเรน ธงเซฟตี้ กรวยยาง
4. จุดเริ่มต้นการวางท่อควรใกล้แหล่งน้ำมากที่สุดก่อนเพื่อสะดวกต่อการเติมน้ำเข้าท่อเพื่อทดสอบ



วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567

ขั้นตอนการเชื่อมท่อ HDPE

การต่อท่อ HDPE โดยวิธีการเชื่อม ซึ่งมี 2 แบบ คือ
1. เชื่อมแบบธรรมดาใช้คนควบคุม กล่าวคือ เราต้องคำนวณค่าต่างๆไว้ก่อน และต้องจับเวลา ตามระยะเวลาที่คำนวณได้ ทำให้การเชื่อมผิดพลาดได้ง่าย
2. เชื่อมแบบใช้เครื่องควบคุม(data logger) เมื่อป้อนข้อมูลลงเครื่อง data loggerเสร็จ เครื่องก็จะจัดการขั้นตอนการเชื่อมให้ทั้งหมด
ทั้งสองวิธีมีหลักการเชื่อมที่เหมือนกัน พอสรุปได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เลือกใส้ประกับให้เหมาะสมกับขนาดท่อ ขันน๊อตยึดแคล้มป์ให้แน่นเพื่อรัดท่อพร้อมจับท่อให้อยู่ในแนวเส้นตรง โดยให้ปลายท่อยื่นออกจากแคล้มป์ประมาณ 30 -50 มม. และให้เหลื่อมกันไม่เกิน 10 % ของความหนาท่อ
ขั้นตอนที่ 2 ใส่ตัวปาดหน้าท่อระหว่างปลายท่อทั้งสองด้าน เดินเครื่องตัวปาดหน้าท่อ ค่อยๆเลื่อนปลายท่อเข้าหาตัวปาดหน้าท่อโดยใช้ระบบไฮโดรลิคควบคุม และจะต้องให้ใบมีดปาดหน้าท่อทั้งสองด้านให้เรียบเสมอกัน
ขั้นตอนที่ 3 ใส่แผ่นความร้อนระหว่างปลายท่อทั้ง 2 ด้าน ใช้แรงดันจากปั๊มไฮโดรลิคดึงปลายท่อทั้ง สองด้านเข้าชนกับแผ่นความร้อนจนกระทั่งปลายท่อทั้งสองด้านเริ่มละลายเป็นตะเข็บกว้างโดยใช้ระยะเวลาตามค่าพารามิเตอร์ที่คำนวณหรืออ่านได้จากเครื่องดาต้าล๊อคเกอร์
ขั้นตอนที่ 4 เลื่อนปลายท่อออกจากแผ่นความร้อนและยกแผ่นความร้อนออก เลือนปลายท่อเข้าหากันโดยใช้แรงงดันเชื่อมและระยะเวลาเชื่อมตาม ค่าพารามิเตอร์ที่คำนวณหรืออ่านได้จากเครื่องดาต้าล๊อคเกอร์
ขั้นตอนที่ 5 เมื่อเชื่อมท่อเสร็จแล้วให้ถอดแค้มป์ออก และเลื่อนท่อออกจากเครื่องเชื่อม จากนั้นจึงเชื่อมท่อนถัดไป