วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567

เจาะลึกปัญหา Horizontal Directional Drilling (HDD): คู่มือแก้ปัญหาฉบับมือโปร

เจาะลึกปัญหา Horizontal Directional Drilling

       สวัสดีครับเพื่อนๆ ช่างและผู้รับเหมาทุกท่าน! วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงปัญหาที่พบบ่อยในการทำงาน Horizontal Directional Drilling (HDD) หรือที่เรียกกันว่า "การเจาะนำทิศทางแนวนอน" พร้อมแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในหน้างาน

Horizontal Directional Drilling (HDD) คืออะไร?

       HDD เป็นเทคนิคการเจาะที่ใช้สำหรับติดตั้งท่อประปาหรือสายเคเบิลใต้ดิน โดยไม่จำเป็นต้องขุดเปิดหน้าดินตลอดแนวการติดตั้ง วิธีนี้ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการจราจร แต่ก็มีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่ระวัง

ปัญหาที่พบบ่อยในการทำงาน HDD และวิธีแก้ไข

  1. การเบี่ยงเบนของทิศทางการเจาะ (Bore Path Deviation): ปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่อหัวเจาะเบี่ยงเบนออกจากเส้นทางที่วางแผนไว้ อาจเกิดจากสภาพดินที่ไม่สม่ำเสมอ หรือการควบคุมทิศทางที่ไม่แม่นยำ

    • วิธีแก้ไข: ใช้ระบบนำทางที่มีความแม่นยำสูง เช่น Magnetic Guidance System หรือ Gyro Guidance System และตรวจสอบสภาพดินก่อนการเจาะ
  2. การติดขัดของหัวเจาะ (Drill Bit Stuck): หัวเจาะอาจติดขัดในดินแข็ง หรือหิน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการเจาะต่อได้

    • วิธีแก้ไข: ใช้หัวเจาะที่เหมาะสมกับสภาพดิน และปรับแรงดันน้ำหรือโคลนที่ใช้ในการหล่อลื่นและระบายความร้อน
  3. การยุบตัวของผนังหลุมเจาะ (Borehole Collapse): เกิดขึ้นเมื่อดินรอบหลุมเจาะไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของดินที่อยู่ด้านบน ทำให้ผนังหลุมเจาะยุบตัวลงมา

    • วิธีแก้ไข: ใช้สารผสมโคลน (Drilling Fluid) ที่มีความหนาแน่นเหมาะสม เพื่อช่วยพยุงผนังหลุมเจาะ และใช้หัวเจาะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดท่อเล็กน้อย เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับการฉีดสารผสมโคลน
  4. ความเสียหายของท่อ (Pipe Damage): อาจเกิดจากการเสียดสีกับดิน หรือหินระหว่างการดึงท่อเข้าหลุมเจาะ

    • วิธีแก้ไข: ใช้ท่อที่มีความแข็งแรงและทนทานต่อการเสียดสี และหล่อลื่นท่อด้วยสารหล่อลื่นที่เหมาะสม
  5. การรั่วไหลของสารผสมโคลน (Drilling Fluid Loss): เกิดขึ้นเมื่อสารผสมโคลนซึมหายไปในดิน ทำให้ไม่สามารถควบคุมแรงดันในหลุมเจาะได้

    • วิธีแก้ไข:ปรับความหนืดและความหนาแน่นของสารผสมโคลนให้เหมาะสมกับสภาพดิน และอุดรอยรั่วด้วยสารอุดรอยรั่ว (Loss Circulation Material)

เคล็ดลับเพิ่มเติม:

  • วางแผนการเจาะอย่างละเอียด โดยศึกษาสภาพดินและสิ่งกีดขวางใต้ดิน
  • เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ
  • มีทีมงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
  • ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ

          การทำงาน HDD เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการติดตั้งท่อใต้ดิน แต่ก็มีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ หากเราเข้าใจปัญหาและวิธีแก้ไข ก็จะสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพครับ

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2567

วิธีดันท่อปลอกลอดถนน (pipe jacking)

วิธีดันท่อปลอกลอดถนน (pipe jacking) ขั้นตอนในการทำงานมีดังนี้
1. ขุดหลุมเปิดบ่อรับกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 6.00 เมตรและลึกโดยประมาณ 3.50 เมตร โดยให้ตอกเหล็กค้ำยันจนถึงดินแข็ง
clip_image002
2. แต่งก้นหลุมให้เรียบร้อยจนได้ระดับ
3. วางรางเหล็กที่มีความยาวใกล้เคียงกับขนาดของความยาวหลุม โดยให้ปลายรางข้างหนึ่งแตะชิดกับเสาค้ำยัน
clip_image004
4. ติดตั้งเครื่องมือดันท่อในตำแหน่งเดียวกับรางเหล็ก และตั้งกระบอกไฮโดรลิคโดยยึดกับรางเหล็กให้มั่นคง
5. วางท่อปลอกความยาวประมาณ 3 เมตร ลงในตำแหน่งเดียวกับรางเหล็ก
6. ใช้แผ่นเหล็กรองระหว่างปลายท่อปลอกกับแกนกระบอกไฮโดรลิคแล้วจึงเริ่มทำการดัน (ในระหว่างดันท่อได้พอประมาณใช้รถแบคโฮตักดินขึ้นจากหลุม)
7. เมื่อทำการดันท่อปลอกจมดินจนเหลือปลายโผล่พอประมาณ 40 ซม. ให้ถอยแกนของกระบอกโฮโดรลิคแตะชิดกับเสาค้ำยัน
8. วางท่อปลอกท่อนใหม่(ความยาว 3 เมตร)เชื่อมต่อท่อปลอกที่ดันไปแล้วเข้าด้วยกันโดยรอบและต้องเช็คระดับน้ำให้ได้ระดับ แล้วจึงทำการดันต่อ
9. ทำตามขั้นตอนที่ 5 – 8 จนสิ้นสุดการดันท่อตามแบบแปลน
10. ทำการวางท่อไส้(ท่อลอด) ตามแบบแปลนโดยให้ปลายทั้งสองด้านอยู่ในแนวระดับกับท่อเดิมหรือท่อวางใหม่ให้มากที่จุด
11. อุดปลายท่อปลอกทั้งสองด้านด้วยปูนทรายให้ปิดสนิทเพื่อกันดินไหลเข้าไปในท่อปลอกซึ่งจะทำให้ดินบริเวณที่ดันลอดทรุดและยุบตัวได้
*** ควรเปิดบ่อรับด้วยเพื่อมิให้ชนท่อเดิม(ถ้ามี)














วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2567

การเลือกท่อพีวีสำหรับใช้งานวางท่อประปา

    โดยทั่วไปท่อ PVC จะมีหลายชั้นคุณภาพ เช่น ชั้น 5 ชั้น 8.5 ชั้น 13.5 แต่ในงานวางท่อเมนส่งน้ำและจ่ายน้ำประปาหากแบบไม่ระบุเป็นอย่างอื่น ตามมาตรฐานของการประปาส่วนภูมิภาคระบุให้ใช้ดังนี้

1. ท่อพีวีซี ขนาด เส้นผาศูนย์กลาง < 55 มม. ให้ใช้ชนิดปลายธรรมดา ชั้น 13.5 โดยทั่วไปยาวท่อนละ 4 เมตร อุปกรณ์ท่อใช้อุปกรณ์เป็นพีวีซี ชั้น 13.5 ชนิดปลายเรียบต่อด้วยกาวต่อท่อ

2. ท่อพีวีซี ขนาด เส้นผาศูนย์กลาง 55 - 80 มม. ให้ใช้ชนิดปลายบานต่อด้วยแหวนยาง ชั้น 13.5 โดยทั่วไปยาวท่อนละ 4 เมตร อุปกรณ์ท่อใช้อุปกรณ์พีวีซี ชั้น 13.5 ชนิดต่อด้วยแหวนยาง ใช้น้ำยาหล่อลื่นแหวนยาง

3. ท่อพีวีซี ขนาดเส้นผาศูนย์กลาง   > 80 มม. ให้ใช้ชนิดปลายบานต่อด้วยแหวนยาง ชั้น 8.5 โดยทั่วไปยาวท่อนละ 6 เมตร เมื่อเราสั่งซื้อท่อจะมีแหวนยางมาด้วยเสมอ ท่อ 1 ท่อนจะใช้แหวนยาง 1 เส้น ใช้น้ำยาหล่อลื่นแหวนยางเป็นตัวประสานระหว่างท่อแต่ละท่อน อุปกรณ์ท่อใช้อุปกรณ์เหล็กหล่อเทาแบบปลายปากระฆังหรือแบบปลายหน้าจานและต้องได้มาตรฐาน มอก. 918 ด้วย

clip_image002