วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567

รายงานการเชื่อมท่อ HDPE DATA LOGGER

      รายงานการเชื่อมท่อ HDPE แบบคอมพิวเตอร์ควบคุม(DATA LOGGER) เป็นข้อกำหนดสำหรับงานเชื่อมท่อ HDPE ของการประปาส่วนภูมิภาค  เดิมการเชื่อมท่อ HDPE จะใช้แรงงานคนสังเกตจากตะเข็บแนวท่อและต้องอาศัยประสบการณ์ แต่ปัจจุบันการเชื่อมท่อ HDPE จะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมขั้นตอนการเชื่อม(LDU) ออกรายงานผลการเชื่อมที่แม่นยำ น่าเชื่อถือ ทำให้ข้อมูลการเขื่อมที่ได้แน่นอน เกิดความผิดพลาดน้อยจากภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างของรายงานผลการเชื่อม ซึ่งจะแสดงรายละเอียดไว้ครบถ้วน
IMG_00061

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2567

ตัวอย่างการถอดแบบในงานวางท่อประปา

    ในงานวางท่อประปานั้น การใช้อุปกรณ์ประปาให้เหมาะสมกับบริเวณต่างๆมีความจำเป็นมาก เนื่องจากมีผลต่อต้นทุนค่าก่อสร้าง และระยะเวลา เนื่องจากต้องใช้เวลาผลิต ดังนั้นผมขอยกตัวอย่างการถอดแบบอุปกรณ์ดังนี้
clip_image002
แบบแปลนแสดงการติดตั้งอุปกรณ์ในเส้นท่อวางใหม่ตามสัญญา

clip_image004
  แสดงการถอดแบบเพื่อขยายการติดตั้งอุปกรณ์ ตำแหน่ง 11


วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2567

การต่อท่อพีวีซีชนิดต่อด้วยแหวนยาง

       ในการต่อท่อพีวีซีชนิดต่อด้วยแหวนยางนั้นช่างต่อท่อประปาต้องมีความชำนาญ เนื่องจากหากต่อไม่ถูกวิธีจะทำให้แหวนยางปลิ้นได้ง่าย และจะทำให้น้ำรั่วตามมา เมื่อถึงขั้นตอนการทดสอบน้ำจะหารอยรั่วได้ยากมาก ดังนั้นต้องระวังเป็นพิเศษ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. เช็ดทำความสะอาดปลายท่อที่จะต่อเข้ากับข้อต่อแหวนยาง รวมทั้งแหวนยางด้วยโดยเฉพาะร่องของแหวนยาง โดยใช้ผ้าจุ่มน้ำเช็ดแล้วปล่อยให้แห้ง
2. จับแหวนยางให้เป็นรูปหัวใจแล้วสอดเข้าไปในข้อต่อแหวนยางในทิศทางปลายคีบของแหวนยางลู่เข้าไปในท่อ ปล่อยมือแล้วจัดแหวนยางให้นั่งในร่องแหวนยางให้แนบสนิท
3. ทำเครื่องหมายแสดงความลึกของการสอดท่อ โดยใช้ปากกาเคมี โดยทั่วไปทางโรงงานผลิตท่อจะทำเครื่องหมายมาให้ด้วย ยกเว้นกรณีตัดท่อหน้างานเราต้องทำเครื่องหมายใหม่
4. กรณีตัดท่อหน้างาน ให้ลบมุมคมของท่อประมาณ 15 องศา โดยใช้ตะไบหรือเครื่องเจีย เพื่อป้องกันการปลิ้นของแหวนยาง
5. ทาน้ำยาหล่อลื่นแหวนยางบริเวณส่วนที่ลบมุมคมของท่อและตัวของแหวนยางที่นั่งในร่องแหวนยางแล้วให้ทั่วเสมอ
6. สวมปลายท่อที่ทาน้ำยาหล่อลื่นแหวนยางไว้แล้วเข้าไปในข้อต่อแหวนยาง
7. ใช้แรงงานหรือคานงัดเพื่อดันปลายท่อเข้าไปในข้อต่อแหวนยางให้ถึงเครื่องหมายบนท่อที่ทำไว้ตามข้อ 3(ไม่ควรใช้เครื่องจักรดันเพราะจะทำให้ปลายท่อปากระฆังแตกได้ง่าย)
8. ทำตามขั้นตอนที่ 1 ถึง 7 ไปเรื่อยๆจนแล้วเสร็จ








วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2567

อุปกรณ์ซ่อมท่อ HDPE

        ปัญหาที่เจอบ่อยในงานวางท่อ HDPE ก็คือ การซ่อมท่อ เนื่องจากการซ่อมแต่ละครั้งต้องใช้ช่างที่มีฝีมือ แบ่งวิธีการซ่อมได้ 2 แบบ
1. การซ่อมท่อด้วยการเชื่อม ซึ่งต้องใช้เครื่องเชื่อมท่อ HDPE โดยเฉพาะ การซ่อมด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดมากๆ กล่าวคือ บริเวณที่จะซ่อมต้องมีพื้นที่กว้างและยาวมากพอที่จะโน้มท่อ HDPE มาเชื่อมได้ ในขณะที่ระยะท่อมีจำกัด
2. การซ่อมท่อโดยใช้ Repair Clamp การซ่อมด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ การซ่อมจะทำได้เร็วและสะดวกกว่าการใช้เครื่องเชื่อม โดยทั่วไปจะ มีขนาดตั้งแต่ 63 มม. - 315 มม. แบ่งได้เป็น 3 แบบ
1. Repair Clamp แบบแสตนเลส ราคาแพงแต่ซ่อมได้ง่าย จับแน่นเนื่องจากออกแบบมาพิเศษ
clip_image006
2. Repair Clamp แบบเหล็กเหนียวเคลือบอีพ๊อกซี่ ราคาปานกลาง ซ่อมได้ง่าย เหมือนกับแสตนเลส จับแน่นเนื่องจากออกแบบมาพิเศษ อายุการใช้งานน้อยกว่าแสตนเลส
3. Repair Clamp แบบท่อ HDPE ราคาถูกแต่ซ่อมได้ยาก หลุดลื่นได้ง่าย
clip_image004

clip_image005







วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567

วิธีการต่อท่อ HDPE

    การต่อท่อ HDPE โดยทั่วไปท่อ HDPE จะมีหลายชั้นคุณภาพ เช่น PN 6.3 , PN 10 ความยาวมีทั้งแบบม้วนสำหรับท่อขนาด 20 – 110 มม. และแบบท่อนสำหรับท่อขนาด 110 ขึ้นไป โดยทั่วไปจะใช้ความยาวท่อนละ 6 เมตร ทั้งนี้เราสามารถสั่งความยาวได้ตามที่เราต้องการเพื่อสะดวกต่อการขนส่งจากโรงงานมายังหน่วยงาน และหากสั่งความยาวของท่อได้เหมาะสมกับสภาพหน้างานจะมีผลทำให้ประหยัดค่าแรงและอุปกรณ์ในการต่อท่อแต่ละท่อนอีกด้วย ตามมาตรฐานของ กปภ. สามารถแบ่งการต่อท่อตามขนาดท่อเป็น 2 ประเภท
1. ท่อ HDPE ขนาด OD เล็กกว่า 110 มม. ให้ใช้ข้อต่อแบบ Compression หรือ เชื่อมต่อแบบ Butt Fusion หรือแบบ Electro Fusion
2. ท่อ HDPE ขนาด OD ตั้งแต่ 110 มม. ขึ้นไป ให้ใช้วิธีการ เชื่อมต่อแบบ Butt Fusio

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2567

อุปกรณ์ในการต่อท่อพีอี(HDPE)แบบหน้าจาน

อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับท่อ HDPE แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ชุดข้าง ใช้สำหรับประสานท่อพีอีกับอุปกรณ์ท่อ เช่น สามทางหน้าจาน ท่อลด ประตูน้ำ ฯลฯ ประกอบด้วย
1. หน้าแปลนพีอี (Stub End) 1 ตัว
2. แหวนเหล็กเหนียว (Backing Ring) 1 ตัว
3. สกรู 1 ชุด
4. ประเก็นยาง 1 แผ่น

2. ครบชุด ใช้สำหรับประสานท่อพีอีกับท่อพีอี เช่น ท่อชั้นคุณภาพไม่เท่ากัน ต่างโรงงาน ซ่อมท่อ ฯลฯ ประกอบด้วย
1. หน้าแปลนพีอี (Stub End) 2 ตัว
2. แหวนเหล็กเหนียว (Backing Ring ) 2 ตัว
3. สกรู 1 ชุด
4. ประเก็นยาง 1 แผ่น

อุปกรณ์ที่ใช้มีดังต่อไปนี้
1. Stub End ทำมาจากท่อหนาแล้วไปกลึงขึ้นรูป หรือหล่อให้ได้มิติตามมาตรฐาน ก่อนสั่งซื้อต้องระบุให้ชัดว่าเป็นชั้นความดัน(PN)อะไร,ชั้นคุณภาพเท่าใด PE 80 หรือ PE 100 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพท่อ HDPE ที่ใช้
clip_image004
2. Backing Ring ตามมาตรฐานของกปภ. ระบุว่าต้องทำมาจาก Ductile Iron แต่โดยทั่วไปโรงงานผลิตท่อ HDPE มักจะใช้เป็นเหล็กเหนียว ดังนั้น ก่อนสั่งซื้อต้องระบุให้ชัดว่าเป็นเหล็กหล่อหรือเหล็กเหนียว
clip_image006
3.สลักเกลียวและแป้นเกลียว ตามมาตรฐานของกปภ. ระบุว่าต้องทำมาจาก Ductile Iron ขนาดและความยาวของสลักเกลียวขึ้นอยู่กับขนาดของท่อและชั้นคุณภาพท่อด้วย อีกทั้งต้องระบุให้ชัดว่าใช้แบบชุดข้างหรือแบบครบชุด ปัญหาที่เจอบ่อยคือ ความยาวของสลักเกลียวไม่เพียงพอ คือใช้กับชุดข้างได้แต่ใช้กับแบบครบชุดไม่ได้
clip_image008
4. ประเก็นยาง ประเก็นยางของท่อพีอีจะใช้แบบ”หูยก”ไม่ต้องมีรูเหมือนกับประเก็นยางหน้าจานแบบงานท่อพีวีซี หรือท่อเหล็กเหนียว
clip_image010










วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567

ทำไมต้องใช้ Ductile Cast Iron ในงานวางท่อ HDPE

        เหล็กหล่อ เป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กกับคาร์บอน ซึ่งมีคาร์บอนผสมอยู่มากกว่า 2% (ที่ใช้งานจริงมักอยู่ในช่วง 2.5-4.0%) ธาตุผสมที่สำคัญอีกตัวหนึ่งก็คือ ซิลิคอน นอกจากนี้ก็ยังมี แมงกานีส กำมะถันและฟอสฟอรัส
เราอาจจะจำแนกเหล็กหล่อตามลักษณะของคาร์บอนในเหล็กหล่อนั้น ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้คือ
1) เหล็กหล่อเทา (Gray Cast Iron)
2) เหล็กหล่อขาว (White Cast Iron)
3) เหล็กหล่อเหนียว (Ductile Cast Iron) หรือเหล็กหล่อกราไฟท์กลม (Spheroidal Graphite Cast Iron)

1. เหล็กหล่อเทา (Gray Cast Iron)
คาร์บอนส่วนใหญ่ในเหล็กหล่อนี้ จะอยู่ในรูปของเกล็ดกราไฟท์ และส่วนที่เหลือจะอยู่ในโครงสร้างเพิร์ลไลท์ เหล็กหล่อเทาจึงนิ่ม ไม่เปราะนัก กลึงไสง่าย และทนการสึกหรอเนื่องจากการเสียดสีได้ดี มันจะไม่ทนต่อแรงดึง แต่ทนต่อแรงอัด การไหลลงในแบบหล่อที่บางได้ง่าย และการหดตัวเพียงเล็กน้อยตอนแข็งตัวของเหล็กหล่อเทานี้ ทำให้ได้ชิ้นงานหล่อออกมาส่วนงามมีความคมตามแง่มุมชัดเจน ฉะนั้นประมาณ 80% ของงานหล่อทั้งหมด จึงอยู่ในรูปของเหล็กหล่อเทา เช่นเครื่องยนต์ ที่ยึดรางรถไฟและฐานเครื่องจักรกลต่าง ๆ เป็นต้น
2. เหล็กหล่อขาว (White Cast Iron)
คาร์บอนทั้งหมดในเหล็กหล่อนี้จะอยู่ในรูปของซีเมนไตท์ เหล็กหล่อขาวจึงมีคุณสมบัติแข็งทนทานต่อการเสียดสี แต่เปราะ ไม่เหมาะกับการตัดหรือการกลึงไส
3. เหล็กหล่อเหนียว (Ductile Cast Iron) หรือเหล็กหล่อกราไฟท์กลม (Spheroidal Graphite Cast Iron)
โครงสร้างของเหล็กหล่อนี้คล้ายกับเหล็กหล่อเทา Ductile Cast Iron มีคุณสมบัติคล้ายกับเหล็กกล้ามาก คือ มีความแข็งแรงสูง มีความสามารถในการยืดตัวออกและสามารถขึ้นรูปได้ ใช้ทำชิ้นงานวิศวกรรม เช่น backing ring , สกรู-น๊อต ในงานวางท่อ HDPE เนื่องจากมีอายุการใช้งานได้นานกว่าการใช้เหล็กเหนียว